|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กุมภาพันธ์ 2549
|
 |

ผู้ที่เพิ่งรู้จักเชียงใหม่ อาจจะแปลกใจว่าบทสนทนาตามวาระต่างๆ ของกลุ่มคน หรือองค์กรในเชียงใหม่ มักจะมีบทพูดคุยส่วนหนึ่ง ที่ถามกันว่า เป็นเด็กมงฟอร์ต หรือเด็กปรินส์
หรือไม่ก็มีคำกล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคมงฟอร์ต หรือยุคนี้เป็นยุคของ ปรินส์
นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมเมืองเชียงใหม่ มาตลอดระยะเวลา 50 ปี
แม้กระทั่งในยุคปัจจุบัน องค์กรหรือสถาบันสำคัญๆ ไม่ว่าหอการค้า สภาอุตสาหกรรม เทศบาล ฯลฯ ก็มักจะมีวาระที่ศิษย์เก่ามงฟอร์ต หรือศิษย์เก่าปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย ขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูงสุด ซึ่งแน่นอนที่สุดว่าเครือข่ายคนทำงานหลักที่เข้ามาร่วมก็มักจะมีศิษย์เก่าร่วมสถาบันได้บทบาทสำคัญในสัดส่วนที่มากกว่า
หรือแม้กระทั่งการทำธุรกิจร่วมกัน ก็มักจะเป็นการลงทุนร่วมกันในกลุ่มเพื่อนมงฟอร์ต หรือเพื่อนปรินส์รอย เป็นหลัก
มีการรวมกลุ่มเชื่อมโยงกันระหว่างรุ่นต่อรุ่น และมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
เช่นกรณี กลุ่มบี 12 ที่โด่งดังมากในเมืองเชียงใหม่ เมื่อ 15-18 ปีก่อน เป็นการรวมตัวของอดีตนักเรียนเก่ามงฟอร์ตลงขันเพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน เป็นต้น
เครือข่ายความสัมพันธ์แบบมงฟอร์ต-ปรินส์รอย ที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ เป็นโมเดลสายสัมพันธ์แบบตะวันออกที่มีความพิเศษไปกว่าเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มาจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองต่างจังหวัด
โดยทั่วไปเครือข่ายสายสัมพันธ์แบบเพื่อน-พี่-ร่วมสถาบันในประเทศไทย มักจะเกิดกับศิษย์เก่าในสถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก ขณะที่เครือข่ายแบบมงฟอร์ต-ปรินส์รอย มีรากฐานมาจากสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเครือข่ายศิษย์เก่าระดับอุดมศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ที่ทำให้เพื่อน-พี่จากระดับมัธยมศึกษารวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ มาจากลักษณะเฉพาะของเมืองเชียงใหม่
เพราะเชียงใหม่เป็นหัวเมืองหลัก มีขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่มากเพียงพอต่อการลงทุน-ปักหลักอยู่อาศัยและประกอบอาชีพ
ไม่เหมือนจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดที่มีขนาดทางเศรษฐกิจเล็กกว่า เมื่อมีผู้จบการศึกษาในระดับมัธยมแล้ว ก็ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ไปศึกษาต่อในกรุงเทพฯ หรือหัวเมืองที่ใหญ่กว่า ต่อจากนั้นก็มักจะประกอบอาชีพในพื้นที่อื่น ทำให้ขาดการติดต่อกันระหว่างเพื่อนระดับมัธยมฯ แต่กลับมีเครือข่ายใหม่ในระดับอุดมศึกษามากกว่า
ปัจจัยดังกล่าวนี้เองที่เป็นตัวเกื้อหนุนสำคัญทำให้ระบบการจัดการเครือข่ายศิษย์เก่าของทั้ง 2 สถาบันมีความเข้มแข็งและต่อเนื่องยาวนาน
ธเนศวร์ เจริญเมือง อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศิษย์เก่าปรินส์รอย รุ่น Eternity'69 มองปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เชียงใหม่เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการค้า การลงทุน ศูนย์กลางของหน่วยราชการ เป็นปัจจัยทำให้การสถาปนาเครือข่ายสัมพันธ์แบบพี่น้องร่วมสถาบันเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ยังไม่กระจัดกระจายออกไป
ปัจจัยที่สองคือ ระยะเวลาการก่อตั้งโรงเรียนปรินส์รอยที่ยาวนาน ทำให้เกิดความผูกพันถ่ายทอดจากรุ่นปู่ย่ามาสู่รุ่นลูกหลาน เชียงใหม่ไม่เหมือนกับจังหวัดอื่นๆ ที่มีโรงเรียนประจำจังหวัดชาย-หญิงเพียงจังหวัดละ 2-3 โรงเรียน
แต่เชียงใหม่มีสถาบันการศึกษาในระดับประถม-มัธยมขนาดใหญ่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นโรงเรียนเก่าแก่ได้รับความนิยมมากถึง 6 แห่ง ซึ่งเทียบได้กับ Ivy-leaque ในต่างประเทศ ได้แก่ มงฟอร์ตวิทยาลัย เรยินาเชลีวิทยาลัย ดาราวิทยาลัย ยุพราชวิทยาลัย วัฒโนทัยพายัพ และปรินส์ รอยแยลส์ วิทยาลัย
บังเอิญที่มงฟอร์ตกับปรินส์รอย ได้รับความนิยมเป็น 2 ลำดับแรก อาจจะเพราะในยุคก่อนที่ภาพลักษณ์ของโรงเรียนฝรั่งมีความโดดเด่นในเรื่องของภาษาอังกฤษมากกว่าโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนทั้ง 2 จึงเป็นแหล่งรวมของลูกหลานผู้มีฐานะในเมืองจำนวนมาก ไม่เพียงเท่านั้น ผู้มีฐานะในจังหวัดใกล้เคียง ก็เลือกที่ส่งลูกหลานมาเรียนในโรงเรียนทั้ง 2 แห่งในเมืองเชียงใหม่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน
จึงกลายเป็นว่าทั้งปรินส์รอย และมงฟอร์ต เป็นสถาบันที่ผลิตกลุ่มคนชั้นนำในสังคมภาคเหนือขึ้นมา และคนเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่มีบทบาทในสังคมเชียงใหม่ และภาคเหนือในปัจจุบันด้วย
ความแตกต่างระหว่างสังคมแบบมงฟอร์ตกับปรินส์รอย สามารถจำแนกได้กว้างๆ คือ มงฟอร์ตได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ประกอบการค้าในตลาดเป็นหลัก ขณะที่ปรินส์รอยมีจุดเด่นอยู่ที่ไม่เก็บเงินแรกเข้าเรียน หรือแป๊ะเจี๊ยะ จึงมีฐานนักเรียนที่กว้างมาก มาจากทุกชนชั้นทุกวิชาชีพ
"ที่สำคัญที่สุด ระบบการหมุนนักเรียนสลับกันในทุกๆ ปี ทำให้ เวลา 12 ปีที่อยู่ด้วยกัน เด็กจะรู้จักกันหมด เมื่อจบออกไปจะเป็นเครือข่ายเพื่อนที่ผูกพันมากกว่าเพื่อนร่วมห้องไม่กี่สิบคน" ธาดา เลาหวัฒน์ นักเรียนเก่ารุ่น Victory'65 กล่าวเสริมถึงสาเหตุที่ศิษย์เก่ารุ่นเดียวกันนี้มีกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันแทบทุกเดือน ทั้งๆ ที่เวลาผ่านมากว่า 40 ปีแล้ว
นิรันดร์ กิตติกุล รุ่น Victory'65 อีกคนหนึ่งบอกว่า อย่างรถไปชนกันในเมือง ถ้าหากว่าติดสติ๊กเกอร์ปรินส์รอยส์ฯ แล้ว ก็จะเคลียร์กันได้ง่ายกว่า เพราะเราถือว่าเป็นพี่น้องกัน "อย่างกรณีของผม คนงานขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนกับรถของลูกครูเก่าท่านหนึ่ง สักพักครูท่านนั้นก็โทรฯ มาแล้วผมก็ไปจัดการทุกอย่างให้ในทันที"
ธเนศวร์มองต่อว่า กลุ่มพ่อค้าในเมืองนิยมส่งลูกหลานเรียนที่มงฟอร์ต ทำให้วัฒนธรรมเครือข่ายเพื่อนแบบมงฟอร์ตเน้นหนักไปที่การทำมาค้าขาย ส่วนปรินส์รอยนั้นมักจะออกไปในแนวอาร์ติสต์ นักวิชาการ คนที่ทำงานด้านสังคมศาสตร์มากกว่า
เรื่องดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่ามงฟอร์ตมักจะทำธุรกิจ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ปลูกฝังกันมาตั้งแต่เริ่ม มียุคหนึ่งเกิดไฟไหม้ใหญ่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) เมื่อปี 2511 โรงเรียนมงฟอร์ตมีเด็กขาดเรียนครึ่งโรงเรียน เพราะเสื้อผ้านักเรียน อุปกรณ์การเรียนถูกไฟไหม้หมด เรื่องดังกล่าวสะท้อนค่านิยมของคนในตลาดเป็นอย่างดี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะเด็กในยุคนั้น ปัจจุบันคือนักธุรกิจใหญ่ๆ ในเชียงใหม่
แต่สำหรับปรินส์รอยที่เน้นหนักไปทางวิชาการ ทางสังคมศาสตร์ หรือทางศิลปะมากกว่า ซึ่งก็มีศิษย์เก่าของปรินส์รอยจำนวนมากที่มีบทบาทในเมืองเชียงใหม่
กลุ่มเครือข่ายสายสัมพันธ์แบบมงฟอร์ต-ปรินส์รอย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมย่อยของเมืองเชียงใหม่ เพราะในแทบทุกองค์กรทั้งราษฎร์และหลวง มีศิษย์เก่าของสถาบันทั้ง 2 อยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นระดับผู้บริหาร อย่างเช่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนปัจจุบันก็ใช่ หรือว่าประธานหอการค้าในแทบทุกรุ่นล้วนมาจาก 2 สถาบันนี้
"สิ่งที่ทำให้คนแต่ละรุ่นผูกพันกันมาก น่าจะมาจากการอบรมในโบสถ์ทุกวัน โดยอาจารย์ใหญ่จะต้องใช้เวลา 10-15 นาที อบรมเรื่องคุณธรรม เราถูกปลูกฝังในเรื่องคุณธรรมเป็นพิเศษ และมีระบบการจัดการศึกษาที่เป็นตัวของตัวเองสูง อย่างเรื่องภาษาสนทนาที่ใช้ แม้ในห้องเรียนจะพูดคำไทย (ภาษากลาง) แต่ทันทีที่ออกนอกห้อง ทั้งครูและนักเรียนก็ยังอู้กำเมืองต่อกันได้ ไม่เหมือนกับแบบแผนของโรงเรียนรัฐบาลที่ถูกกำหนดให้ใช้ภาษาราชการสนทนาเท่านั้น"
|
|
 |
|
|