ในระหว่างที่ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินดอลลาร์ ได้ส่งผลให้เกิดความสับสนวุ่นวายต่อการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกนั้น
ความประมาทเลินเล่อจาการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ( Derivatives) ของอังกฤษอย่างแบริ่ง
บราเธอร์ ก็เข้ามาซ้ำเติมในภาวะการชงทุนที่แย่อยุ่แล้วย่ำแย่ลงไป จนยากที่จะฟื้นได้ในเร็ววัน
ยิ่งกว่านั้น ใครจะคาดคิดว่าเพียงระยะเวลาห่างออกมาไม่ถึงเดือน ความผิดพลาดในการลงทุนในตราสารอนุพันธ์จะระบาดเข้ามาถึงเมืองไทย
เมื่อผู้ค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมียักษ์ใหญ่รายหนึ่งอย่างบริษัททีพีไอโพลีน (
TPIPL) กำลังจะประสบภาวะผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แม่จะยังไม่ใช่ยอการขาดทุนที่เกิดในทันที
แต่ในทางบัญชี ผลการขาดทุนได้เกิดขึ้นไปแล้ว
การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนของทีพีไอโพลีน มีมูลเหตุเเริ่มขึ้นในปี 2533
เมื่อบริษัททำสัญญากู้เงินกับ kreditanstalt Fuer Wiederaufbau( KFW) ธนาคารของเยอรมัน
วงเงิน 228,868,432 มาร์กเยอรมันนี แต่เนื่องจากรายได้ ของบริษัท เป็นเงินบาท
ที่รู้กันว่าผูกติดอยู่กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ บริษัทจึงต้องการควบคุมความเสี่ยงโดยแปลงสกุลเงินที่กู้เป็นเงินดอลลาร์
แต่สัญญาที่ทำกับ KFW เปิดทางให้แปลงสกุลเงินได้เพียง 85,592,432 มาร์ก ฉะนั้นเงินมาร์กที่เหลืออยู่
143,276,000 มาร์ก จึงมีความเสี่ยงทันที
ในจังหวะเดียวกันนั้นเอง พนักงานขายตราสารอนุพันธ์ ของยูเนี่ยนแบงก์ออฟสวิตเซอร์แลนด์หรือยูบีเอส
ก็เข้ามาขอพบฝ่ายบริหารของบริษัทเพื่อมาเสนอขาย " DM Cost Reduction
Interest Rate Swap" ตราสารอนุพันธ์คุ้มความเสี่ยงในวงเงินกู้ดังกล่าว
ว่ากันว่า ในครั้งนั้น ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการบริหาร หัวเรือใหญ๋ของบริษัทไม่ต้องการที่จะลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่เสนอมามากนัก
แต่ปล่อยให้ที่ปรึกษาการเงินคือ อนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ ที่ปรึกษาการเงินของบริษัท
เป็นผุ้ตัดสินใจ และในที่สุด ก็เชื่อตามคำเสนอของเซลสแมนลงทุนในตราสารอนุพันธ์ดังกล่าว
โดยไม่คาดคิดว่า การตัดสินใจในครั้งนั้นได้เพิ่มความเสี่ยงของบริษัทโดยไม่รู้ตัว
กรรมการบริหารทีพีไอ กล่าวว่า ตอนที่เซลสแมน ของยูบีเอส มาเสนอขายนั้นมีการคาดการณ์ว่า
ดอกเบี้ยเงินกู้สกุลมาร์กมีแนวโน้มลดลง หากไม่ลงทุนใน DM Cost Reduction
interest Rate Swap บริษัทจะเสียประโยชน์ภาระดอกเบี้ยจ่ายในอัตราสูง อีกทั้งความเข้าใจของบริษัทจากที่ฟังจากธนาคารในตอนนั้น
ก็คือตราสารอนุพันธ์ที่ลงทุนจะทั้งคุ้มความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน
ซึ่งในความเป็นจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ความเสี่ยงของบริษัทจึงเพิ่มขึ้น
เพราะดอกเบี้ยเงินมาร์กสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันคาเงินมาร์กก็แข็งขึ้นโดยบริษัทไม่ได้คุ้มกันความเสี่ยง"
ผลจากความผิดพลาดทางการบริหารความเสี่ยงที่อาจทำให้บริษัทต้องขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนนั้น
ได้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อราคาหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเทขายออกมาจำนวนมาก
ราคาหุ้นรูดลดลงจนติดฟลอร์ติดต่อกันมากว่า 3 วัน รวมแล้วราคาได้ลดลงกว่า
50% เทียบกับที่เคยสุงสุด 266 บาทเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537
บริษัทได้ชี้แจงว่า เหตุการร์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อฐานะการเงินของบริษัท
แต่อาจมีผลกระทบต่ออัตรากำไรบ้าง แต่จะไม่มีผลต่อการชำระเงินสดเมื่อถึงกำหนดเวลา
แต่ในเบื้องต้นมีนักวิเคราะห์ประมาณการว่า ความเสียหาย จะเริ่มปรากฏในรอบบัญชีไตรมาสแรกปี
2538 คาดว่ายอดขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 140-160 ล้านบาท
อนุชา ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน ผู้ที่มีส่วนในการตัดสินใจเรื่องนี้ แจ้งว่า
เหตุผลที่ความเสี่ยงในการบริหารงานบริษัทเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทสำคัญผิดเชื่อในความน่าเชื่อถือและคำแนะนำและเร่งเร้าอย่างแข็งขัน
ของยุบีเอส ที่จริงบริษัทติดต่อธนาคารไปเพราะต้องการลงทุนในอนุพันธ์ที่คุมความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินมาร์กโดยตรง
( straight currency swap) แต่ตราสารอนุพันธ์ที่ยูบีเอส เสนอขายมาไม่เป็นตามที่บริษัทต้องการ
และท้ายที่สุดเป็นเหตุให้บริษัทต้องยื่นฟ้องยูบีเอส ต่อศาล เพราถือว่า เจตนารมณ์แรกเริ่มของบริษัทนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง
interest rate swap นั้นถือว่าเป็นตราสารอนุพันธ์ ที่ในสัญญาที่ทำกันระหว่าง
2 ฝ่ายที่จะแลกภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เช่นฝ่ายหนึ่งกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยคงที่
แต่ลงทุนในสัญญาที่จะแลกสิทธิชำระในอัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรือในอัตราที่ต่างออกไป
ผู้สังเกตุการณ์ทางการเงิน วิเคราห์สถานการณ์ที่ทีพีไอ ฯ ตัดสินใจฟ้องยูบีเอส
ในคราวนี้เป็นเพียงผลทางภาพพจน์เท่านั้น คงไม่สามารถแก้ไขสัญญาในตราสารอนุพันธ์ที่บริษัทลงทุนไปได้
และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทีพีไอฯ ถือเป็นเรื่องปกติในตลาดอนุพันธ์แต่ละคนมองแนวโน้มของตลาดต่างกัน
ในกรณีของทีพีไอฯ น่าจะเป็นเพราะว่ามองแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะถูกลง ทำให้เชื่อว่าค่าเงินมาร์กน่าจะอ่อนตัวลงเป็นประโยชน์
เมื่อชำระหนี้ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวผิดพลาด ผนวกกับความไม่เข้าใจในสัญญาในตราสารอนุพันธ์
จึงทำให้บริษัทจึงต้องรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตอีกว่า การที่ยูบีเอส เสนอขาย Dm cost
reduction interest rate swap" ให้ทีพีไอ ฯ อาจเป็นเพราะว่ายูบีเอส
ต้องการลดสัดส่วนการถือหุ้นตราสารอนุพันธ์ชนิดนี้ในพอร์ตที่ะนาคารรับมาจากลูกค้ารายอื่น
ในฝั่งยูบีเอส รายงานล่าสุด ระบุว่า ฝ่ายกฎหมายของธนาคาร ก็เตรียมรับมือกับการฟ้องร้องของทีพีไอฯ
เรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม หนี้เงินกู้สกุลมาร์ก ของบริษัทส่วน ใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว
ในส่วนระยะสั้น ที่ใกล้เวลาชำระมีเพียงเล็กน้อย ฉะนั้นผลที่จะเกิดขึ้นต่อฐานะการเงินของบริษัทไม่น่ามากนัก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทีพีไอฯ ในคราวนี้ ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
และเชื่อว่า จะมีอีกหลายบริษัทไทยตกอยู่ในสถานะเดียวกัน ในอนาคต กรณีดังกล่าวอาจมีมากขึ้นเมื่อมีการตั้งตราสารอนุพันธ์ขึ้นในประเทศไทย
เพราะตราสารอนุพันธ์นั้นถือว่าเป็นตราสารที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมาก
ที่จะนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในเมืองไทยจะหามีผู้เข้าใจเรื่องนี้อย่างดีนั้นน้อยเต็มที