"วงศ์ชนก ชีวะศิริ "หนุ่มฤทธิ์" จะช่วยให้เธอเกิดในตลาดเหล้าไทย"
เมื่อรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเปิดเสรีโรงเหล้าในปี 2542 ปฏิกิริยาตอบรับที่เกิดขึ้นจากเจ้าของสัมปทานรายเก่าก็คือ การออกสินค้ามาตีกันรายใหม่ที่จะเข้ามาทำธุรกิจแข่งในอนาคต ทั้งนี้เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดมาไว้ในมือเสียแต่เนิ่น ๆ โดยกลุ่มสุรามหาราษฎร์ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่แม้ว่าจะเป็นผู้กุมตลาดเหล้าไทยระดับล่างเอาไว้ในมือเกือบทั้งหมดอยู่แล้ว ก็ยังแนะนำ "แม่โขง สุพีเรีย" ออกมาดักตลาดตั้งแต่กลางปี 2537 ก่อนหน้าใครทั้งหมด
(นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539)
จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี เมื่อสิงห์เข้าผับก็ต้องมีทัพหนุน
เมื่อไฮเนเก้นปรับจุดยืนจาก เบียร์นำเข้ามาเป็นเบียร์ผลิตในประเทศนั่นนับเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัท
ซี.วี.เอส.ซินดิเคท จำกัดในเครือบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดก้าวขึ้นสวมตำแหน่งผู้นำตลาดเบียร์เข้าแทนที่โดยปริยาย
ด้วยมาร์เกตแชร์ถึงประมาณ 50 %
(นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2539)
ดร.นพดล อินนา เบื้องหลังของ "สิงห์" ผงาดในวงการไอที
นอกเหนือไปจากการนั่งบริหารในบุญรอดบริวเวอรี่ ผู้ผลิตเบียร์ โซดา และผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม ซึ่งรู้จักกันดีภายใต้ชื่อ "สิงห์" อันเป็นกงสีของครอบครัวแล้ว สันติ ภิรมย์ภักดี ยังมีกิจการหลายประเภทที่ใช้เงินส่วนตัวไปร่วมลงขันเอาไว้มากมาย ตามประสาของผู้มีชื่อเสียง และมีเพื่อนพ้องในวงการธุรกิจมากมาย
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2538)
คาร์ลสเบอร์กเขย่าบัลลังก์สิงห์
อุตสาหกรรมเบียร์ไทยกำลังขึ้นบทใหม่ เมื่อคาร์ลสเบอร์ก เบียร์จากเดนมาร์ก
ที่จับมือกับเจ้าพ่อน้ำเมา เจริญ สิริวัฒนภักดี พร้อมแล้วที่จะลงนาม หลังจากเบียร์สิงห์เป็นเจ้าสังเวียนอยู่เพียงผู้เดียวมานานปี
คาร์ลสเบอร์กจะไปถึงเป้าหมายขอส่วนแบ่งตลาด 30% ภายใน 5 ปีหรือไม่ และเบียร์สิงห์จะพิสูจน์ตัวเองได้ไหมว่า
เมื่อปราศจากการคุ้มครองจากรัฐ ก็ยังยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2536)
"ยุทธจักรน้ำเมา บนแผ่นดินมังกร"
ขณะที่ผู้ผลิตเบียร์จากชาติตะวันตกกำลังชักแถวเข้าไปลงทุนในจีน อุตสาหกรรมเบียร์บนผืนแผ่นดินใหญ่ก็ซุ่มเงียบ
เตรียมรุกคืบเข้าไปกินส่วนแบ่งในตลาดต่างประเทศเช่นกัน
(นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2536)
"คู่แข่งหน้าใหม่ของสิงห์"
"มูลค่าตลาดนับหมื่นล้านบาทส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% บุญรอดบริวเวอรี่ผู้ผลิตเบียร์สิงห์ต้อนรับคู่แข่งหน้าใหม่
จาก ค่ายสุราทิพย์และวานิช ไชยวรรณ รวมถึงอมฤตในอีก 3 ปีข้างหน้า ด้วยกลยุทธขยายกำลังการผลิตอีกเท่าตัวพร้อมปกป้องเครือข่ายตลาดอย่างรุนแรง"
(นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2535)
"เบอร์เบิ้นบุกตลาดไทย"
ตลาดสุราต่างประเทศที่คนไทยนิยมดื่มทุกวันนี้มีมูลค่านับได้ประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี หากดูจากตัวเลขที่เกิดขึ้น พร้อมกับเทียบการเติบโตที่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 15% ก็ยิ่งทำให้เกิดกลิ่นไอของความกระหายสำหรับคอเหล้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทำตลาดสุราต่างประเทศยิ่งเมามันและเกิดอาการมึนเมื่อตลาดระอุไปด้วยกลิ่นแอลกอฮอล์อย่างรุนแรง
(นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2535)
"เบื้องหลังเจแอนด์บีในมือมาสเตอร์แบรนดส์"
การพลิกโฉมตลาดสุราต่างประเทศอีกครั้งในเมืองไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
โดยที่บริษัทมาสเตอร์แบรนด์สกระโดดเข้าเจรจาร่วมทุนกับบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล
ดิสตริลเลอร์ แอนด์ วินต์เนอร์ จำกัดหรือไอดีวี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัทแกรนด์
เมโทร โปลิแตน ยักษ์ใหญ่จำหน่ายสุราและเครื่องดื่มของอังกฤษ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"เมื่อไทยอมฤตยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว"
คลอสเตอร์เยอรมันขอขึ้นค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์จาก 5% เป็น 10% ของยอดขาย
ไทยอมฤตของกลุ่มเตชะไพบูลย์ใช้เทคนิคการเจรจาชั้นเซียนรุกและรับอย่างแพรวพราว
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)
"คลอสเตอร์:ในเยอรมนีไม่มีใครรู้จัก เมืองไทยดังเป็นบ้า"
ในเยอรมนีมีเบียร์อยู่ 5,000 ยี่ห้อ เยอรมนีจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งเบียร์
ทุก ๆ เมืองมีการผลิตเบียร์ไว้เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของตน ตำบลหนึ่งเมืองหนึ่งก็มีคนทำเบียร์อยู่หลายตระกูลหลากหลายยี่ห้อ แต่เบียร์ที่ได้รับความนิยมจริง ๆ ในเยอรมนีมีอยู่ไม่เกิน 3,000 ยี่ห้อ
(นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2535)