โรงเบียร์ไทยในสิงคโปร์
เสถียร เศรษฐสิทธิ์ เล็งการณ์ไกลสร้างแบรนด์ร้านอาหารไทยโกอินเตอร์ หวังกระตุ้นตลาดร้านอาหารไทยในเอเชีย ด้วยรูปแบบของ Asian Style Microbrewery โดยประเดิมที่สิงคโปร์เป็นแห่งแรกพร้อมกันถึง 2 สาขา ที่เดมซี่ย์ และอีสต์ โคสต์ ด้วยเงินลงทุน 120 ล้านบาท
(Positioning Magazine ธันวาคม 2552)
ช้าง ต้องเต้นระบำ
หลังวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อมีนาคม 2538 ไม่นาน เบียร์ช้างก็สร้างปรากฏการณ์ช้างกระทืบสิงห์จนหล่นบัลลังก์ ด้วยกลยุทธ์ “เหล้าพ่วงเบียร์” และต้องใช้เวลาปรับกระบวนยุทธ์อยู่เป็นนานด้วยการออก ลีโอ เบียร์ มาชนจังๆ และส่งผลให้ให้ช้างล้มเช่นในปัจจุบัน
(Positioning Magazine 24 ธันวาคม 2552)
สาดฟองเบียร์ใน TPL “บอลแพ้ เบียร์ไม่แพ้”
ยิ่งใกล้ปลายปีสงครามเบียร์ยิ่งร้อนแรง เพราะเป็นฤดูกาลขายอยู่แล้ว แต่ดูเหมือนว่าปีนี้จะคุกรุ่นกันตั้งแต่กลางปี หลังเลก 2 ของไทย พรีเมียร์ ลีก เริ่มขึ้น เมื่อเบียร์อีโคโนมี่จากค่ายยักษ์ 3 ค่าย คือ ลีโอ จากบุญรอดฯ ช้างจากไทยเบฟ และเชียร์จาก TAPB ร่วมลงสนามอย่างพร้อมเพรียงเป็นครั้งแรก
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2552)
เหล้านอกเดือด อัดเกมร้อนนอกจอ
เพอร์นอต ริคาร์ด เจ้าของแบรนด์ “ชีวาส” ชิงเปิดศึกช่วงโค้งสุดท้ายของปี ด้วย โกบอลแคมเปญใหม่ ที่เน้นสร้างทัศนคติ และยังเป็นการปฏิรูปการเลือกใช้สื่อ เลิกพึ่งสื่อทีวีหันมาใช้ New Media ขณะที่ “จอห์นนี่วอล์กเกอร์ แบล็กเลเบิ้ล” ที่มี ดิอาจิโอ โมเอ็ท เฮนเนสซี่ เป็นเจ้าของแบรนด์มาตลอด 12 ปี ยังคง Keep Walking และใส่ความเป็น Extreme ด้วย “ฟอร์มูล่าวัน”
(Positioning Magazine ตุลาคม 2552)
เปิดตำรา Football Marketing กับ Heineken Star Final
เมื่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดนคุมเข้มจากกฎหมาย การสื่อสารใดๆ ดูจะยากลำบากเข้าไปทุกที “ไฮเนเก้น” ใช้อีเวนต์ระดับโลก “Heineken Star Final” เป็นทางออก ด้วยการอาศัยแบรนด์ที่แข็งแกร่งผนวกกับรายการกีฬาที่ยิ่งใหญ่อย่างยูฟ่า แชมเปี้ยนลีก 2009 ดึงคอบอลจากทั่วโลกกว่า 300 คน จาก 40 ประเทศ บินลัดฟ้ามาร่วมปาร์ตี้ที่เมืองไทย ร่วมกับผู้โชคดีคนไทยอีก 8 คน
(Positioning Magazine กรกฎาคม 2552)
ทางออกของไฮเนเก้น
“ไฮเนเก้น” แบรนด์ที่เคยละเลงไอเดียกระฉูดผ่านโฆษณามาตลอดระยะเวลา 14 ปีในไทย กำลังต้องเผชิญอุปสรรคเรื่องข้อจำกัดด้านการโฆษณา ทางออกหนึ่งคือใช้สื่อออนไลน์ผนวกกับอีเวนต์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างไม่ขาดตอน ล่าสุด คือ สนามฟุตบอลจำลองที่สร้างจากกระป๋องเบียร์กว่า 230,000 กระป๋อง เพื่อสร้างความจดจำ และหวังให้เป็น Talk of the town
(Positioning Magazine มิถุนายน 2552)
ดริงก์มันส์ ๆ
รสชาติใหม่ๆ เป็นกลยุทธ์สำคัญในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ที่คึกคักที่สุดต้องยกให้ญี่ปุ่น ล่าสุดมีเบียร์จาก “ซัปโปโร” ออกรสชาติใหม่ “ช็อกโกแลต” ด้วยกลยุทธ์การตลาดแบบลิมิเต็ด เอดิชั่น หรือมีจำนวนจำกัด และจำหน่ายโดยต้องสั่งผ่านเว็บไซต์ เปิดจองแค่ 9 วัน (14-23 มกราคม 2009) ราคา 3 แพ็ก 1,480 เยน หรือเฉลี่ยกระป๋องละ 5 เหรียญสหรัฐ
(Positioning Magazine กุมภาพันธ์ 2552)
แบรนด์มาก่อน ยอดขายค่อยว่ากัน
เบียร์ไทเกอร์เปิดตัวในเมืองไทยมาเกือบครึ่งศตวรรษ ด้วยความมั่นใจกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาแล้วทั่วโลก แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวหาได้เกิดขึ้นที่เมืองไทยไม่ ทุกวันนี้ยอดขายของไทเกอร์ยังคงห่างชั้นจากสิงห์ซึ่งอยู่ในเซ็กเมนต์สแตนดาร์ดเหมือนกัน แต่ในแง่ของนวัตกรรมการตลาดแล้วไทเกอร์ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างแบรนด์ให้โดดเด่น ด้วยหวังผลงอกงามในระยะยาว ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกนาน
(Positioning Magazine พฤศจิกายน 2551)
เปิดเบื้องลึก โฆษณาปั้นแบรนด์ “FEDERBRAU”
หัวใจสำคัญของการทำงาน คือ การใช้ทีมงานมืออาชีพ เพราะสำหรับเฟดเดอร์บรอยแล้ว การมาช้ากว่าคือข้อเสียเปรียบที่ชัดเจน ต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์สูงมาช่วยขับเคลื่อนแบรนด์ จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดแล้ว และบีบีดีโอคือหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปั้นแบรนด์เฟดเดอร์บรอย ซึ่งก่อนหน้านั้นคุ้นเคยกันดีกับทางไทยเบฟฯ เพราะเคยดูแลคาลส์เบิร์กมาก่อน
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)
ไม่มีฮีโร่ฉายเดี่ยว
ปกติเคยทำหนังโฆษณาแบบเวิลด์ไวด์ ออนแอร์เหมือนกันทั่วโลก แต่หลังจากพบว่า “คนเอเชียยังไม่อินเท่าที่ควร” มาคราวนี้ “จอห์นนี่ วอล์คเกอร์” จึงต้องหันผลิตมาหนังโฆษณาเอาใจคนเอเชียโดยเฉพาะ และเป็นครั้งแรกที่ไม่มี “ฮีโร่ฉายเดี่ยว” ในหนังโฆษณาเหล้ายี่ห้อนี้
(Positioning Magazine ตุลาคม 2551)